ข่าว/ประกาศ
ห้องการแสดง
หัวข้อ

ดังนั้นเมื่อต้องการเปลี่ยนหลอด ควรใช้ผ้าหรือแผ่นพลาสติคบางๆ จับตัวหลอดป้องกันมิให้นิ้วมือถูกตัวหลอดหลอดชนิดนี้จะให้ความเข้ม ของแสงสว่างออกมาแตกต่างกัน ซึ่งมีหน่วย เป็นวัตต์ (Watts) โคมไฟแบบสปอต (Spot lights) แบบนี้ให้แสงสว่างที่เป็นลำแสง แคบ ๆ และมีแสงแข็งกระด้างกำหนดทิศทางได้ดีความเข้มของแสงทำให้เกิดเงามากในส่วนที่ไม่ได้รับแสงเพียงพอ โคมไฟแบบสปอตที่นิยมใช้มี 4 อย่าง คือ

                    1. Fresnels เป็นโคมไฟที่มีขนาดและความเข้มของแสงแตกต่างกันตั้งแต่100 วัตต์ไปจนถึง 5000 และ 10000 วัตต์ที่นิยม ใช้มี 750,1000 และ 2000 วัตต์ โคมไฟ ชนิดนี้สามารถปรับความคมชัดของลำแสงได้

 

 

 

 


2. Ellipsoidals บางทีเรียกว่า Leko มีชัตเตอร์เพื่อควบคุมปริมาณแสง และ ขนาดของแสงที่ต้องการได้เหมาะสำหรับการ ใช้ควบคู่กับรูปแบบ (Pattern) ในการให้เกิดแสงเป็นรูปลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้ปรากฎ บนฉากหลังโคมไฟชนิดนี้นิยมใช้ขนาด 750, 1000 และ 1500 วัตต์

3. Openface หรือ Lensless เป็นโคมไฟที่มีลักษณะคล้ายแบบ Fresnels หากแต่ว่าไม่มีเลนส์ครอบข้างหน้าโคม ทั้งนี้เพื่อต้องการให้มีน้ำหนักเบาเหมาะในการนำไปใช้กับการถ่ายทำนอกสถานที่ได้

                    4. Sun Gun เป็นโคมไฟที่มีน้ำหนักเบาใช้กับการผลิตรายการนอกสถานที่หรือ รายการข่าว เพราะเป็นลักษณะที่หิ้วไปมาได้สะดวกโคมไฟชนิดนี้มีบานประตูหรือกระบัง หน้าควบคุมการกระจายแสงได้ด้วย

 


 

 

 

 

 

 

นอกจากนี้ก็มีโคมไฟชนิดอื่น ๆ อีกที่มีลักษณะเป็นแบบสปอตเป็นต้นว่า แบบเอช เอม ไอ (HMI) แบบส่องตามการเคลื่อนไหวของตัวแสดง (Follow Spot Lights) และ แบบพาร์ (Par Lights) ซึ่งแต่ละชนิดก็ให้แสงสว่างจ้ากว่าและแข็งกระด้างกว่าแบบอื่น เหมาะในการใช้งานแตกต่างกันไป โคมไฟแบบฟลัด (Flood lights) แบบนี้ให้แสงสว่างที่นุ่มนวลไม่ทำให้เกิดเงามากหรือแข็งกระด้าง แสงสว่างที่ได้ จากโคมไฟชนิดนี้เป็นแสงที่ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง ที่นิยมใช้มี 4 อย่าง คือ

                              1. Scoops เป็นโคมไฟที่ใช้ควบคู่กับ Fresnel Spots เพื่อเป็นไฟเพิ่มหรือลบ เงาที่เกิดจากการใช้ไฟสปอต ให้ภาพดูสวยงามขึ้นปกติ Scoop จะมีความกว้าง 18 นิ้ว และให้แสงสว่าง 1000 หรือ 1500 วัตต์

 

2. Soft Light เป็นโคมไฟที่ให้แสงสว่างบริเวณกว้างมาก และนุ่มนวลกว่าแบบฟลัดทุก ๆ แบบ ถ้าใช้เฉพาะไฟชนิดนี้อย่างเดียวจะทำให้เกิดเงาน้อยมาก นิยมใช้เป็น ไฟเพิ่มหรือลบเงาเช่นเดียวกัน ปกติ Soft Light ให้แสงสว่าง 750 ถึง 5000 วัตต์

 

 

 

 

 

 

 

3. Broads หรือ Par Light เป็น โคมไฟรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนให้แสงสว่างไม่นุ่มนวลเหมือนแบบ Scoop และ Soft Lights ลำแสงที่ได้จากไฟชนิดนี้ สามารถ ควบคุมและกำหนดการกระจายแสงได้โดยอาศัยบานประตูหรือกระบังหน้า (Barndoors) ปกติให้แสงสว่าง 1000, 2000 และ 5000 วัตต์

4. Nook Lights เป็นโคมไฟที่มีขนาดไม่ใหญ่นักสามารถหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้นิยมใช้เมื่อต้องการส่องสว่างพื้นที่ที่ไม่มาก โคมไฟชนิดนี้ยังสามารถใช้ส่องสว่างเฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านที่ประกอบฉากได้ดี

 

 

 

 

 

 

 

นอกจากไฟแบบฟลัดทั้ง 4 ชนิดที่กล่าวมาแล้วยังมีไฟฟลัดชนิดพิเศษอื่น ๆ ที่นำมาใช้เพื่อจุดมุ่งหมายพิเศษอื่น ๆ ด้วยพอจะแยก ได้ดังนี้

                    ก. Strip Lights เป็นโคมไฟชนิด Broads หลาย ๆ ดวง ที่นำมาจัดเรียงรายกันไว้ในแถวเดียวกันเป็นแผง เพื่อส่องสว่างบริเวณที่กว้างขวาง เช่น ฉากหลัง ผ้าม่าน เป็นต้น ซึ่งอาจจะแขวนไว้ในสตูดิโอหรือตั้งไวักับพื้นก็ได้และยังสามารถครอบโคมไฟ ด้วยเจล (Gel) เพื่อให้เกิดแสงสีต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้

                    ข. Cyclorama Lights ส่วนมาก ในสตูดิโอขนาดกลางและขนาดใหญ่ จะมีโคมไฟชนิดนี้แขวนอยู่ทางฉากหลังของสตูดิโอเพื่อให้ส่องแสงสว่างอย่างเพียงพอซึ่งในตัวโคม ไฟแบบนี้จะมีแผ่นสะท้อนแสงทำหน้าที่กระจายแสงได้ด้วย

          2. อุปกรณ์ช่วยในการแขวนโคมไฟในสตูดิโอ จะเห็นหลอดไฟชนิดต่าง ๆ แขวนระโยงระยางไปตามท่อหรือคาน ซึ่งท่อหรือคานนี้อาจจะติดตั้งไว้ตายตัวอยู่เหนือกว่า ระดับศีรษะหรือบางทีอาจจะมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงได้แล้วแต่ความต้องการอุปกรณ์ ที่ช่วย ในการแขวนหลอดไฟนอกจากท่อแล้ว ก็มีปากคีบแบบตัว C (C-Clamp) นอกจากนั้นก็มีแผงสำหรับเสียบปลั๊กสายไฟติดตั้งไว้ตามท่อ หรือคานในสตูดิโอเพื่อให้สายไฟมีความยาวเพียงพอจำเป็นต้องมีตัวเชื่อมต่อกันของสายไฟด้วยและนอกจากนั้น อาจจะมีตัวยืดหดเวลาแขวนโคมไฟ (Pantograph) รวมทั้งอาจจะมีเสาติดตั้งไฟที่หย่อนลงมาจากเพดานสตูดิโอ ซึ่งตัวเสาอาจจะขยายหรือปรับให้สั้นเข้าได้ (Telescope Hanger) หรืออาจเป็นเสาตั้งพื้น (Floorstand) และอุปกรณ์อีกอย่าง หนึ่งคือปากคีบ (C-Clamp) ก็ใช้ประโยชน์ ในการยึดโคมไฟให้มั่นคงได้ดีด้วย

. อุปกรณ์ที่ช่วยในการควบคุมแสงสว่าง ในการควบคุมแสงนั้น มีสิ่งที่จะต้องยึดถือ 3 ประการ คือ
                    1) การควบคุมการกระจายของแสง
                    2) การควบคุมความเข้มของแสง
                    3) การควบคุมการกระจายกระแสไฟ

                              1. การคุมการกระจายของแสง มีวิธีการปฏิบัติอยู่ 4 ประการ คือ
                                        1.1 เลือกตำแหน่งที่ตั้งของไฟส่องสว่างให้เหมาะสม เช่น ให้ตำแหน่งของไฟอยู่สูงตรงศีรษะผู้แสดงทำมุม 90 องศาพื้นที่ของการกระจายแสงสว่างจะแคบแต่ถ้าตำแหน่งของหลอดไฟเปลี่ยนไปเช่น 45 องศา พื้นที่ๆ ได้รับแสงก็จะเพิ่มขึ้น
                                        1.2 ใช้กระบังหน้าไฟส่องสว่างเพื่อกำหนดทิศทางของแสง กระบังหน้าอาจมีทั้ง 4 ด้านหรือ 2 ด้านก็ได้
                                        1.3 กำหนดทิศทางของแสง โดยเฉพาะไฟสปอตแบบ Fresnel โดยการปรับความชัดและทิศทางที่ต้องการ
                                        1.4 กะระยะทางจากไฟส่องสว่างกับวัตถุ ถ้าวัตถุอยู่ใกล้กับหลอดไฟพื้นที่ ๆ ได้รับแสงก็จะน้อยถ้าวัตถุอยู่ไกลพื้นที่ๆ ได้รับแสงก็จะมากเป็นต้น

 

 

 

 

 

 


 2. การควบคุมความเข้มของแสง ทำได้ 5 ประการ คือ
                                        2.1 ควบคุมกำลังส่องสว่างของหลอดไฟ (Lamp Wattage) โดยเลือกใช้หลอดไฟที่ให้แสงสว่างมากน้อยตามต้องการ หลอดไฟ 500 วัตต์จะให้แสงสว่างน้อยกว่าหลอดไฟ2000 วัตต์เป็นต้น
                                        2.2 ควบคุมระยะห่างจากหลอดไฟกับวัตถุ (Lamp-to-Subject-Distance) ยิ่งหลอดไฟห่างจากวัตถุมาก ความเข้มของแสงจะลดน้อยลงไป
                                        2.3 ปิดกั้นด้วยแผ่นหน้ากากสกรีม และแผ่นกั้นสกรีน (Scrims and Screens) ซึ่งสกรีนใช้ปิดกั้น เพื่อลดความเข้มของหลอดไฟส่องสกรีนนิยมใช้กับหลอดไฟแบบสปอต
                                        2.4 บังคับการส่องสว่างของแสงของหลอดไฟแบบสปอตชนิด Freshnel ตามที่เราต้องการซึ่งจะช่วยลดความเข้มของแสง ลงได้
 

3. การควบคุมการกระจายกระแสไฟ เพื่อให้หลอดไฟแต่ละชนิดสามารถส่องแสงสว่างได้นั้น ต้องมีอุปกรณ์ที่เป็นแผงเพื่อเสียบสายไฟตามเลขหรือเครื่องหมายที่กำหนดให้ แต่ละหลอดเรียกแผงเสียบสายไฟนี้ว่า Patch Board ซึ่งใช้ควบคู่กับ อุปกรณ์ลดแสงสว่าง Dimmer การป้อนกระแสไฟให้กับหลอดนี้อาจ ใช้ได้ 2 วิธี วิธีที่ 1 โดยการเลื่อนสวิทซ์บน Patch Board ซึ่งจะมีสวิทซ์บังคับไฟแต่ละดวง วิธีที่ 2ใช้การบังคับโดยตั้งโปรแกรมเอาไว้เพื่อให้กระแสไฟป้อนเข้าหลอดไฟตามเวลาและดวงไฟที่ต้องการซึ่งวิธีนี้จะสามารถทำได้เฉพาะกับเครื่องที่ทันสมัยเท่านั้น

1. ฟิลเตอร์ที่ใช้สำหรับปรับแสงกลางวัน (Day- Light) ที่มีอุณหภูมิสีของแสงประมาณ 5600 องศาเคลวิน ให้เป็นแสงประดิษฐ์ (Tungsten) ที่มีอุณหภูมิสีของแสง ประมาณ 3200 องศาเคลวิน ฟิลเตอร์ชนิดนี้ มีสีส้มเรียกว่า Full Color Temperature Orange
          2. ฟิลเตอร์ที่ใช้สำหรับปรับแสงประดิษฐ์ (Tungsten) ที่มีอุณหภูมิสีของแสงประมาณ 3200 องศาเคลวินเป็นแสงกลางวัน (Day-Light) ที่มีอุณหภูมิสีของแสงประมาณ 5600 องศาเคลวิน ฟิลเตอร์ชนิดนี้มีสีน้ำเงิน เรียก Full Color Temperature Blue
          3.ฟิลเตอร์ที่ใช้สำหรับปรับแสงประดิษฐ์ (Tungsten) ที่มีอุณหภูมิสีของแสงประมาณ 3200 องศาเคลวิน เป็นแสงกลางวัน (Day-Light) ที่มีอุณหภูมิสีของแสงประมาณ 4300 องศาเคลวิน ฟิลเตอร์ชนิดนี้สีฟ้าอ่อนเรียกว่า Half Color Temperature Blue
          4. ฟิลเตอร์ที่ใช้ปรับแสงจากแสงกลางวัน (Day-Light) ที่มีอุณหภูมิสีของแสงประมาณ 5600 องศาเคลวิน เป็นแสงประดิษฐ์ (Tungsten)ที่มีอุณหภูมิสีของแสงประมาณ 3200 องศาเคลวิน และต้องการลดค่าของแสงลงอีกประมาณ 1 เอฟสต๊อป ฟิลเตอร์ ชนิดนี้เป็นแบบเดียวกันกับชนิดที่ 1 หากแต่ว่าการใช้งานต้องควบกับ ฟิลเตอร์ทอนแสง (Neutral Density) ด้วย ลักษณะนี้เรียกว่า Color Temperature Orange+.3ND
          5. ฟิลเตอร์ที่ใช้ปรับแสงฟลูออเรสเซนต์ให้มีอุณหภูมิสีของแสงเท่ากับแสงประดิษฐ์ (Tungsten) คือมีอุณหภูมิสีของแสงประมาณ 3200 องศาเคลวินในการใช้ฟิลเตอร์ กับสภาพแสงเช่นนี้ต้องใช้ควบกับฟิลเตอร์ชนิดที่ 1 และฟิลเตอร์ปรับแสงฟลูออเรสเซนต์ที่เรียกว่า Tough Minus Green Filters
          6. ฟิลเตอร์ที่ใช้กับแสงประเภท Carbon Arcs เรียกฟิลเตอร์ชนิดนี้ว่า ToughWhite Frame Green
          7. ฟิลเตอร์ที่มีลักษณะเป็นใยคล้ายใยไหมสีขาว ใช้สำหรับลดความแรงของแสงที่อาจทำลายสายตาและผิวหนังของผู้แสดงได้ เรียกฟิลเตอร์ชนิดนี้ว่า Tough Spun
          8. ฟิลเตอร์ที่ใช้ลดความร้อนให้น้อยลงใช้ได้กับไฟทุกประเภท เรียกฟิลเตอร์ชนิดนี้ว่า Cine Frost นอกจากฟิลเตอร์แล้วอาจมีอุปกรณ์อื่นๆ ช่วยตกแต่งสร้างสรรค์สีแสงให้ได้ภาพตามต้องการได้