ข่าว/ประกาศ
ช่วงความตัดกันของแสง
หัวข้อ

ช่วงความตัดกันของแสง

          ปกติกล้องโทรทัศน์จะสามารถแยกช่วงความตัดกันของแสงได้ในอัตราส่วนประมาณ 20 : 1 นั้นหมายความว่า สีขาวเมื่อเปรียบเทียบกับสีดำแล้วมีช่วงแตกต่างกันไม่เกิน 20 เท่า หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือความสว่างของพื้นที่ที่ได้รับแสงมากที่สุดจะมากกว่าพื้นที่ที่ได้รับแสงน้อยสุดถึง 20 เท่า ถ้าหากอัตราส่วนของความตัดกันของแสงมีมากกว่านี้ จะทำให้โทรทัศน์มีสีเพี้ยนไปได้ในทางปฏิบัติควรใช้สเกลเพื่อเปรียบเทียบดูพื้นที่ที่ได้รับแสงมากมีการสะท้อนของแสงประมาณร้อยละ 60 และพื้นที่ที่ได้รับแสงน้อยสะท้อนประมาณร้อยละ 3 ช่วง ความต้องการก็จะอยู่ในอัตราส่วน 20 : 1 พอดี โดยปกตินิยมใช้สเกลสองชนิดคือ สเกลที่แบ่งช่วงความตัดกันออกเป็น 10 ส่วนและสเกล ที่แบ่งช่วงความตัดกันออกเป็น 7 ส่วน

 

การวัดความเข้มของแสง

          ความเข้มของแสงสามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่ามิเตอร์วัดแสง (LightMeter) ซึ่งจะคำนวณออกมาเป็นแรงเทียน (foot candles) หรือใช้อักษรย่อ (fc) การวัดแสงโดยทั่วไปนิยมใช้มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ
          1. การวัดแสงตกกระทบ (Incident Light Measuring)
          2. การวัดแสงสะท้อน (Reflected Light Measuring)

          1. การวัดแสงตกกระทบ
                     เป็นการวัดที่ใช้เครื่องวัดแสงแบบตกกระทบ โดยให้เครื่องวัดนั้นอยู่ในตำแหน่งของวัตถุ หรือผู้แสดงที่หันเครื่องวัดแสงไปยังตำแหน่งที่แสงส่องมา แล้วอ่านค่าปริมาณของแสงที่จะตกลงยังวัตถ ุว่ามีความเข้มมากน้อยเท่าใด

          2. การวัดแสงสะท้อน
                    เป็นการวัดที่ใช้เครื่องวัดแสงสะท้อน โดยให้เครื่องวัดนั้นอยู่ในตำแหน่งของกล้อง หันเครื่องวัดเพื่อรับแสงสะท้อนจากวัตถุหรือผู้แสดง แล้วอ่านค่าเฉลี่ยของฉากทั้งหมด ดังนั้นจึงได้มีการประดิษฐ์เครื่องวัดแสงอีกชนิดหนึ่งที่วัดแสงสะท้อนเพียงมุมแคบ ๆ เช่น 3 องศา หรือแคบกว่านั้นเรียกเครื่องวัดแสงชนิดนี้ว่า เครื่องวัดแสงเฉพาะจุด (Spot Meter)

อุปกรณ์การให้แสงสว่าง

         
อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดแสงสว่าง หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดแสงสว่างชนิดต่างๆในที่นี้ก็คือโคมไฟแบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถแยกประเภทออกเป็น
          1. ประเภทตามแสงสว่างที่ได้รับจากโคมไฟเหล่านั้น ชนิดแรกเรียกว่าโคมไฟแบบสปอต (Spot lights) ซึ่งจะให้แสงสว่างที่แข็งกระด้าง แต่กำหนดทิศทางของแสงได้ดีและชนิดที่สอง เรียกว่าโคมไฟ แบบฟลัด (Flood lights) ซึ่งจะให้แสงสว่างที่นุ่มนวลกว่าซึ่งโคมไฟทั้งสองชนิดนี้ต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญคือหลอดไฟ อันเป็น แหล่งผลิตแสงสว่างให้เกิดขึ้นนั่นเองหลอดไฟ (lamps) ในสมัยก่อนใช้หลอดที่เรียกว่าหลอดทังสะเตน ซึ่งให้แสงพอเพียงกับความต้องการแต่มีข้อเสียอยู่มากเป็นต้นว่าเมื่อใช้ไปนาน ๆ ทำให้ปริมาณของแสงสว่างลดลงและทำให้อุณหภูมิสีของแสงเปลี่ยน ไปด้วย ดังนั้นจึงได้มีผู้คิดประดิษฐ์หลอดชนิดใหม่ขึ้นมาใช้ เรียกว่าหลอดทังสะเตนฮา โลเจน (Tungsten Halogen lamps) ซึ่งแต่ก่อนเรียกว่า หลอดคว๊อทไอโอดีน (Quartz-Iodine) หลอดชนิดนี้ให้อุณหภูมิสีของแสงที่คงที่และความเข้มของแสงสว่างคงที่ด้วยอีกทั้งขนาดของหลอดเล็กลงกว่าเดิมมากแต่มีข้อควรระวังอยู่ว่าเมื่อใช้หลอดชนิด นี้ห้ามใช้มือจับตัวหลอดอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้น้ำมันหรือผงฝุ่นต่าง ๆ ที่ติดอยู่ที่มือ ไปติดบนหลอดอันจะทำให้ระบบการหมุนเวียนภายในของอนุภาคของทังสะเตนภายในหลอดเกิดการรบกวนและไส้หลอดขาดได้ง่ายๆ